เด็กไทย 30% มีปัญหาพัฒนาการด้านสมองระดับสูง

432

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ในงานประชุมวิชาการ “EF Symposium 2016 ปลูกฝังทักษะสมอง บ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0” ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership จัดขึ้นนั้น นักวิชาการชี้เด็กไทยกว่าร้อยละ 30 มีปัญหาด้านการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ Executive Function (EF) และเปิดเผยว่า IQ สูง ไม่ได้การันตีความสำเร็จของมนุษย์ ควรเสริมทักษะสมอง EF มากกว่า จึงจะตอบโจทย์โลกยุคนี้ได้ดีที่สุด เพราะเป็นฐานการควบคุมตนเองและจัดระเบียบตนเอง จนทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานกรรมการกองทุน สสส. กล่าวว่า ทักษะที่จำเป็นของคนไทยในยุค 4.0 ที่ทั่วโลกต้องการคือ การเรียนรู้ที่จะปรับตัวโดยเฉพาะเด็กเยาวชน และกลุ่มวัยแรงงานที่ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงในยุคไอที การสร้างทักษะที่สำคัญเหล่านี้จำเป็นต้องวางรากฐานตั้งแต่ปฐมวัย หรือ 0-6 ปี โดยการพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) เป็นการทำงานระดับสูงของสมองในการเฝ้าตามดูและควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำ เพื่อกำกับตนเองให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมายช่วยให้เด็กคิดเป็น ทำงานเป็น เรียนรู้เป็น แก้ไขปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และหาความสุขเป็น ซึ่งต้องเน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำเพื่อให้เด็กมีโอกาสฝึกคิด วางแผน แก้ไขปัญหา สิ่งสำคัญคือควรคำนึงถึงการสร้างการเรียนรู้แก่เด็กตามความเหมาะสมของช่วงวัย

โดยเฉพาะระดับปฐมวัยที่ไม่ควรเร่งเรื่องอ่านเขียน ซึ่งเป็นการกดทับทักษะด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา สสส.จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย EF กว่า20องค์กร พัฒนาองค์ความรู้ทางด้านทักษะสมองให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยรวมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปใช้เป็นรูปธรรม

(SP)BRAZIL-RIO DE JANEIRO-BRASILEIRO-SERIE A

ทั้งนี้ รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลการสำรวจพัฒนาการทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จของเด็กวัย 2-6 ปี จากกลุ่มตัวอย่าง 2,965 คนทั่วทุกภาคของประเทศไทยใน ช่วงปี2558-2559 ด้วยแบบประเมินพัฒนาการด้าน EF ในเด็กปฐมวัย พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้โครงการวิจัยที่สนับสนุนโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่าปัจจุบันมีเด็กวัย 2-6 ปี ที่มีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความบกพร่องของ EF ประมาณ 30% คือเป็นเด็กที่มีความบกพร่องอย่างชัดเจน 16% และบกพร่องเล็กน้อย 14%

ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้าน EF ล่าช้าคือพบประมาณ 29% โดยเป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้าน EF ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างชัดเจน 14% และต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย 15% ทั้งนี้ทักษะสมองด้าน EF ที่เป็นปัญหามากเป็นอันดับแรกคือปัญหาด้านการหยุด สองคือปัญหาด้านความจำขณะทำงาน และสามคือปัญหาการควบคุมอารมณ์ซึ่งจะส่งผลด้านลบต่อความพร้อมและความสำเร็จทางการเรียนในระดับที่สูงขึ้นไป

รศ.ดร.นวลจันทร์ กล่าวว่า การพัฒนาทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ จะช่วยลดปัญหาความล้มเหลวทางการเรียนหรือออกจากระบบการศึกษา ปัญหาพฤติกรรมและลดความเสี่ยงที่เด็กจะตัดสินใจผิดพลาด เช่น การใช้ยาเสพติด การตั้งครรภ์ในวัยเรียน เพราะการทำงานของสมองส่วนหน้าที่เข้มแข็งจะช่วยให้เด็กรู้จักคิดก่อนทำ ยับยั้งชั่งใจเพื่อกำกับตนเองสู่ความสำเร็จ ซึ่งการพัฒนาทักษะสมองเหล่านี้ควรบูรณาการในชีวิตประจำวันทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน

CHINA-ZHENGZHOU-GINKGO TREES (CN)

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในขณะนี้คือครูและพ่อแม่ยังขาดความเข้าใจ โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนวัยเด็กเล็กที่ขาดสมดุลมุ่งเน้นวิชาการ เร่งเรียนเขียนอ่านก่อนวัย ซึ่งสมองของเด็กเล็กมีความพร้อมที่จะรับการฝึกทักษะ EF พื้นฐาน เช่นรู้จักหยุด ยืดหยุ่นทางความคิด และความจำขณะทำงาน ซึ่งเป็นฐานสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะ EF ระดับที่ยากขึ้นไป ได้แก่ การคิดเป็นเหตุผล คาดการณ์ผลของการกระทำ การจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการสอนและการประเมินเด็กวัยก่อนเรียนควรปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับพัฒนาการด้านการคิดด้วยสมองส่วนหน้าของเด็ก เพราะความสามารถด้านวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นตัวยืนยันว่าเด็กจะประสบความสำเร็จเสมอไป

นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์เด็กและเยาวชนกล่าวว่างานวิจัยการติดตามเด็กอัจฉริยะที่ทำมากว่า 80 ปี พบว่า IQ ไม่ได้การันตีความสำเร็จของมนุษย์ อีกทั้งโลกใหม่ในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้เน้นเรื่องความจำ แต่เน้นเรื่องการควบคุมตนเอง การมุ่งสู่เป้าหมาย และยืดหยุ่นในวิธีคิด โดยทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ EF จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดเพราะเป็นฐานการควบคุมตนเองและจัดระเบียบตนเอง เด็กที่มี EF สูงจะประสบความสำเร็จในชีวิต การทำงาน การเรียน ช่วยแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมอาชญากรรม ยาเสพติด ติดโซเชียลมีเดีย การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหลายองค์กรในประเทศอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง อาทิ ฮาร์วาร์ด มอนทรีออล จอห์นฮอปกินส์ได้หันมาให้ความสนใจและเปลี่ยนวิธีคิด โดยนำ EF เข้าไปปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถานศึกษาปฐมวัย หากไม่เริ่มต้นพัฒนาทักษะสมองตั้งแต่วัยนี้ เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นที่มีแรงอยากรู้ อยากเห็นเป็นตัวขับ โดย EF ยังพัฒนาไม่เข้มแข็งพอ โอกาสที่วัยรุ่นจะเสียหายก็มีสูง

 

ที่มา : www.thaihealth.or.thwww.komchadluek.net, www.posttoday.com