ทัศนียภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจของ “พระพุทธรูปเล่อซาน” (乐山大佛) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา และภูเขาเอ๋อเหมย (峨嵋山) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “ภูเขาง้อไบ๊”
พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์นี้ สูง 71 เมตร สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 713-803) ในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวนทางใต้ของจีน อีกทั้งในปีนี้ นับว่าครบรอบปีที่ 20 ที่ถูก UNESCO บันทึกให้เป็นมรดกวัฒนธรรมโลกด้วย
ในประเทศจีน ประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธรูปหินแกะสลักจะย้อนรอยถึงช่วงปลายสมัยตุงฮั่นหรือสมัยฮั่นตะวันออก (ราว 1,800 ปีก่อน ) คือพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่จากอินเดียเข้ามาจีน บริเวณตอนเหนือแม่น้ำหวงเหอ เริ่มมีการสร้างวัดถ้ำหิน นั่นคือรูปแบบสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา ที่ขุดเจาะตามแนวหน้าผาภูเขา
พร้อมๆ กับพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในจีน ในสมัยราชวงศ์ต่อมา หลายพื้นที่ก็มีการขุดสร้างวัดถ้ำหินจำนวนมาก ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตอลังการด้วย
เล่อซานต้าฝอ – พระพุทธรูปองค์ใหญ่ภูเขาเล่อซาน
พระพุทธรูปปางนั่งองค์ใหญ่แห่งเขาเล่อซานประดิษฐานอยู่ข้างวัด หลิงหยูนฝั่งตะวันออกแม่น้ำหนานหมิ่นเมืองเล่อซานมณฑลเสฉวน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำ 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำต้าตู้ ชิงอีและหมิ่นเจียง พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระสังกัจจายน์ปางนั่ง ความสูง 71 เมตร เป็นพระพุทธรูปหินแกะสลักหน้าผาองค์ใหญ่ที่สุดของจีน ใช้เวลาสร้างประมาณ 90 ปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 713 – 803 สมัยราชวงศ์ถัง
ในสมัยโบราณ เมืองเล่อซานเป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสามสาย ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกรากและอันตรายมาก โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูร้อน กระแสน้ำไหลเชี่ยวยิ่งขึ้น เรือที่แล่นผ่านมักจะถูกคลื่นพลิกคว่ำและจม ผู้คนบนเรือก็เสียชีวิตด้วย การสร้างหลวงพ่อวัดหลิงหยูนข้างๆ แม่น้ำหนานหมิ่นจึงมีเจตนาเพื่อลดความเร็วของกระแสน้ำ ช่วยชีวิตผู้คน ได้เริ่มขึ้นมีการขอบริจาคเงินและแรงงานคน สร้างพระพุทธรูปปางนั่งองค์ใหญ่ คุ้มครองความสงบของแม่น้ำ
เศียรของพระพุทธรูปองค์ใหญ่เล่อซานเสมอกับยอดเขา พระบาท เยียบแม่น้ำข้างล่าง หมายถึงปราบปรามสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลในน้ำ ทั้งองค์สูง 71 เมตร เศียรสูง 14.7 เมตร กว้าง 10 เมตร หูยาว 7 เมตร จมูกยาว 5.6 เมตร นิ้วยาว 5.6 เมตร ปากและตายาว 3.3 เมตร ไหล่กว้าง 24 เมตร นิ้วมือยาว 8.3 เมตร เท้ากว้าง 8.5 เมตร สามารถตั้งเก้าอี้นั่งได้กว่า 100 คน