เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง กล่าวสุนทรพจน์ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์แห่งประเทศไทย

32
         เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียงได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “สถานการณ์การพัฒนาของจีนและโอกาสของจีน” โดยมีดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อาจารย์ ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ ที่ปรึกษาหลักสูตร และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอุตสาหกรรมและธุรกิจของไทยจำนวน 100 กว่าคนได้เข้าร่วมงาน
นายหานกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจจีนมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มดีขึ้น เพื่อนมิตรหลายท่านคุ้นเคยกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงของจีน อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว เศรษฐกิจของจีนเปลี่ยนจากการพัฒนาในอัตราสูงไปสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพสูง ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในเวทีความคิดเห็นสาธารณะของชาติตะวันตก ผู้คนต่างพูดคุยกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับ “ทฤษฎีการล่มสลายทางเศรษฐกิจของจีน” และ “ทฤษฎีการพัฒนาของจีนถึงจุดสูงสุดแล้ว” ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องไร้สาระ ขณะนี้เศรษฐกิจของโลกอยู่ในช่วงขาลง และทุกประเทศกำลังเผชิญกับความยากลำบากบางประการ และจีนก็ไม่มีข้อยกเว้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของจีนมีข้อได้เปรียบหลายประการ รวมถึงรากฐานที่มั่นคง ข้อได้เปรียบหลายอย่าง ความยืดหยุ่นสูง ศักยภาพที่แข็งแกร่ง และมีอนาคตที่สดใส
           ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เสนอให้เร่งการพัฒนา “กำลังการผลิตที่มีคุณภาพใหม่” ซึ่งก็คือการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกิดใหม่และการยกระดับอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม และการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ผ่านนวัตกรรมและการปฏิรูป ตลอดจนยกระดับผลิตภาพโดยรวม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์ของจีนมีการพัฒนา และอุตสาหกรรมในอนาคตก็เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง กำลังผลิตที่มีคุณภาพใหม่ ได้ถูกสร้างขึ้นในทางปฏิบัติ และได้แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันที่แข็งแกร่งและการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพสูง ในอนาคต ซึ่งจะสร้างพลังใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการพัฒนาของจีน
นายหานกล่าวว่า จีนมุ่งที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น จีนถือว่าการเปิดประเทศเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติขั้นพื้นฐาน และนำมาตรการทางนโยบายต่างๆ ที่ครอบคลุมและเป็นระบบมาใช้เพื่อส่งเสริมการเปิดประเทศให้กว้างมากยิ่งขึ้น ปกป้องระบบการค้าเสรีทั่วโลกอย่างแข็งขัน และมีส่วนร่วมในข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาค ทวิภาคี และพหุภาคี ได้จัดตั้งเขตนำร่องการค้าเสรีภายในประเทศ จัดงานมหกรรมสินค้านำเข้าของจีน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างจีนและต่างประเทศอย่างจริงจัง ประตูแห่งการเปิดกว้างของจีนจะเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ
         การพัฒนาของจีนมีส่วนทำให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของโลก จีนยึดมั่นในการพัฒนาอย่างสันติและสนับสนุนการเคารพซึ่งกันและกันและความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย จีนต่อต้านลัทธิเอกภาคีนิยมและการเมืองยึดถืออำนาจเป็นใหญ่ และสนับสนุนให้ละทิ้งแนวคิดแบบสงครามเย็นและการเผชิญหน้ากัน และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นประชาธิปไตย จีนค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาประเด็นร้อนที่มีลักษณะเฉพาะของจีนอย่างแข็งขัน จีนสนับสนุนโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม แบ่งปันโอกาสและประโยชน์จากการพัฒนาและการเปิดกว้างของจีนเอง ทั้งยังต่อต้าน “การตัดขาดจากกัน” และ “การทำลายความเชื่อมโยง” รวมถึงมาตรการเลวร้ายอื่น ๆ ที่ขัดขวางระเบียบของตลาดระหว่างประเทศและเป็นอันตรายต่อการพัฒนาโลก จีนรักษาอัตราการมีส่วนช่วยเศรษฐกิจโลกเติบโตมากกว่า 30% เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน และจะเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการพัฒนาโลก
         นายหานกล่าวว่า ความร่วมมือจีน-ไทยมีอนาคตที่สดใส จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งลงทุนจากต่างประเทศที่สำคัญที่สุด และเป็นตลาดแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุด ภายใต้สถานการณ์โลกที่ซับซ้อนและรุนแรงในปัจจุบัน จีนและไทยจำเป็นต้องเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันทางการเมือง และสามารถเป็นที่พึ่งพากันได้ในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเสถียรภาพของชาติ เมื่อเผชิญกับปัจจัยระหว่างประเทศและภูมิภาคที่ซับซ้อน จีนและไทยจำเป็นต้องขจัดการแทรกแซงและอิทธิพลจากด้านอื่นๆ กระชับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างแข็งขัน ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสันติภาพและการพัฒนาในภูมิภาค และบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
นายหานยังตอบคำถามเกี่ยวกับการพัฒนาของเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี ปัญหาอสังหาริมทรัพย์และสถานการณ์การเงินของจีน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า การเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน การลงทุนในอุตสาหกรรม ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่กันของประชาชนระหว่างจีน-ไทย
        “จีนเป็นพลังที่แข็งแกร่งในการรักษาเสถียรภาพของภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรือง” ในงานเสวนาคลังสมองในกรุงเทพฯ
เอกอัครราชทูตหานได้กล่าวถึงประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวในเอเชียตะวันออก โดยเน้นย้ำว่าเอเชียตะวันออกยังคงรักษาการพัฒนาที่มีเสถียรภาพมาเป็นเวลานาน และเปรียบเสมือนโอเอซิสในโลกที่วุ่นวาย เหตุผลมีดังนี้ ประการแรก ประเทศในเอเชียตะวันออกให้ความสำคัญกับการพัฒนาและความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน ประการที่สอง ประเทศในเอเชียตะวันออกยึดมั่นในสันติภาพ เคารพซึ่งกันและกัน และมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือและเกิดความเข้าใจร่วมกัน ประการที่สาม คนเอเชียตะวันออกขยันหมั่นเพียรและมีความเป็นมิตร และเอเชียตะวันออกมีความหลากหลายและครอบคลุม ประการที่สี่ การพัฒนาของจีนทำให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคมีโอกาสในการพัฒนามากมายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
          เอกอัครราชทูตหานกล่าวว่าโลกทุกวันนี้สับสนวุ่นวาย และสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่สงบสุขในเอเชียตะวันออกกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยการแพร่หลายของลัทธิกีดกันการค้าระหว่างประเทศ กลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อาเซียนอาจถูกก่อกวนหรือหยุดชะงัก และสถานการณ์ที่ไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับทางการเงินในภูมิภาคมีความเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการผงาดของจีนของสหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงสงครามเย็นและการเผชิญหน้ากัน
เอกอัครราชทูตหานชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจของจีนมีรากฐานที่มั่นคง มีความยืดหยุ่นสูง มีศักยภาพแข็งแกร่ง และการพัฒนามีความมั่นคงและมีแนวโน้มที่ดี จีนยินดีเปิดประตูสู่โลกและแบ่งปันความสำเร็จในการพัฒนากับโลก จีนดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สันติภาพ และมุ่งมั่นที่จะปกป้องพิทักษ์สันติภาพโลกและส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาร่วมกันในโลกมาโดยตลอด ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เสนอแนวคิดที่สำคัญในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ และได้นำเสนอข้อริเริ่มว่าด้วยการพัฒนาระดับโลก ข้อริเริ่มว่าด้วยความมั่นคงระดับโลก และข้อริเริ่มด้วยอารยธรรมระดับโลก นี่คือคำตอบของจีนและภูมิปัญญาของจีนต่อคำถามของโลกและยุคสมัย
          เอกอัครราชทูตหานเน้นย้ำว่าการพัฒนาของจีนเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศทั่วโลก การมองว่าการพัฒนาของจีนเป็นภัยคุกคามถือเป็นการตัดสินที่ผิดเชิงยุทธศาสตร์ และการสกัดกั้นการพัฒนาของจีนไม่ใช่การกระทำที่ชาญฉลาด จีนชูธงแห่งสันติภาพ และความร่วมมือและสนับสนุนโลกหลายขั้วที่เท่าเทียมและเป็นระเบียบและโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์อย่างครอบคลุม ต่อต้านการเผชิญหน้าระหว่างค่ายและ “การแยกตัวออกไปจากกลุ่ม” และ “การตัดขาดจากความเชื่อมโยง” จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเพื่อปฏิบัติตามความตั้งใจเดิมที่จะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน เสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันเชิงกลยุทธ์ ยึดมั่นในความสามัคคีและความร่วมมือ ทำงานร่วมกันเพื่อจัดการกับความเสี่ยงและความท้าทายในภูมิภาค สร้างบ้านร่วมกันสำหรับทุกประเทศในภูมิภาคของเรา และทำให้เอเชียมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพและการพัฒนาของโลก
หลังการกล่าวสุนทรพจน์ เอกอัครราชทูตหานได้แลกเปลี่ยนและมีปฏิสัมพันธ์กับนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ความร่วมมือกรอบล้านช้าง-แม่โขง และประเด็นร้อนอื่น ๆ ในภูมิภาค
          นายหาน จื้อเฉียง ชี้ให้เห็นว่าจุดประสงค์ของการพัฒนาของจีนคือการทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนดีขึ้น และประเทศเจริญรุ่งเรือง เราไม่มีความตั้งใจที่จะแข่งขันกับผู้อื่นเพื่อชิง“การครองความเป็นเจ้า” เพราะ“การครองความเป็นเจ้า”ไม่ใช่บทบาทอันทรงเกียรติ การพัฒนาของจีนเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศทั่วโลก การมองว่าการพัฒนาของจีนเป็นภัยคุกคามถือเป็นการตัดสินที่ผิดเชิงยุทธศาสตร์ และการสกัดกั้นการพัฒนาของจีนไม่ใช่ทางเลือกที่ชาญฉลาด และถูกถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯในปัจจุบัน ท่านกล่าวว่าจีนไม่ใช่ผู้ท้าทาย จีนยินดีที่จะใช้ความพยายามอย่างเต็มทิ่เพื่อให้ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง แต่จีนก็ไม่ใช่ลูกแกะที่รอคอยถูกเชือด จีนเข้าใจและเคารพแนวปฏิบัติของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการไม่เลือกข้าง แต่ทุกประเทศควรยืนหยัดอยู่ข้างที่ถูกต้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการมีเหตุผลและความเป็นธรรมระหว่างประเทศ