พิธีลงนามความร่วมมือไทย-จีน จัดตั้งศูนย์กลางการตลาดต่างประเทศและพิธีเปิดคลังสินค้าในต่างประเทศ ด้านอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เทียนเหมิน จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ

34

เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 สมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้าอาเซียนร่วมกับรัฐบาลเมืองเทียนเหมิน ลงนามจัดตั้งศูนย์กลางการตลาดต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่มของเมืองเทียนเหมิน พร้อมเปิดคลังสินค้าในต่างประเทศที่กรุงเทพฯ

ได้รับเกียรติจากท่านเซียวหมิน (Xiao Min) นายกเทศมนตรีเมืองเทียนเหมิน ผู้นำคณะตัวแทนรัฐบาลและบริษัทต่างๆ และคุณแจ๊กกี้ เฉิ่น นายกสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านเศรษฐกิจและการค้า อาเซียน เข้าร่วมงาน

ท่านเซียวหมิน (Xiao Min) นายกเทศมนตรีเมืองเทียนเหมิน กล่าวว่า “ความร่วมมือนี้จะนําไปสู่สถานการณ์ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน โดยอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเป็นอุตสาหกรรมหลักและดั้งเดิมของเทียนเหมิน สร้างคุณค่าให้กับผู้คน นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980-1990 ชาวเทียนเหมิน 300,000 คน ออกไปทํางานเป็นช่างตัดเสื้อและดําเนินธุรกิจ ด้วยจิตวิญญาณแห่งการบุกเบิก พวกเขาได้รับการขนานนามว่า คนตัดเย็บเสื้อผ้าเทียนเหมิน สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับเทียนเหมิน”

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักของเทียนเหมินที่มีความโดดเด่นและชัดเจน โดยเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ 28 แห่งใน 41 ประเภท และถือเป็นฐานอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเสื้อผ้าของจีน คาดว่า ในปี 2026 จะมีมูลค่ามากกว่า 1,000 พันล้านหยวน ซึ่งได้พัฒนาตามหลัก “หนึ่งหลัก สองใหม่ สามสนับสนุน” ในปี 2567 ขยายตลาดต่างประเทศอย่างรวดเร็ว มียอดขายเฉลี่ย 1.2 ล้านชิ้นต่อวัน กว่า 40% อยู่ในสัดส่วนธุรกิจข้ามพรมแดน เกิดบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเมืองเทียนเหมินได้ร่วมมือกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้งในและนอกประเทศกว่า 400 แห่ง อาทิ Pinduoduo, Shein, Amazon โดยครองยอดขายเป็นอันดับหนึ่งของมณฑลในแพลตฟอร์ม Douyin และ Shein อีกด้วย

สำหรับความร่วมมือนี้เป็นผลมาจากนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของมณฑลหูเป่ยให้แข็งแกร่ง มุ่งหวังให้เมืองเทียนเหมินเป็นศูนย์รวมธุรกิจเสื้อผ้า-เครื่องนุ่มห่ม และส่งออกในระดับนานาชาติ

การร่วมทุนครั้งนี้จะสร้างศูนย์การตลาดสำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องนุ่มห่มเมืองเทียนเหมินในตลาดอาเซียน ณ ประเทศไทย โดยจัดตั้งโรงงานปลอดภาษีและสนับสนุนการผลิตในพื้นที่ เพื่อส่งออกไปยังตลาดอาเซียนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ไปยังอาเซียน ยุโรป และอเมริกา โดยบริษัทร่วมทุนจะพัฒนาและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดอย่างต่อเนื่อง